วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2552

DTS 03-30/06/2009

สรุปย่อ บทที่2
อะเรย์เป็นโครงสร้างข้อมูลที่เรียกว่า Linear List มีลักษณะคล้ายเซ็ตในคณิตศาสตร์ คือ อะเรย์จะประกอบด้วยสมาชิกที่มีจำนวนคงที่ มีรูปแบบข้อมูลเป็นแบบเดียวกัน สมาชิกแต่ละตัวใช้เนื้อที่จัดเก็บที่มีขนาดเท่ากัน เรียงต่อเนื่องในหน่วยความจำหลักการกำหนด Arrayการกำหนดอะเรย์จะต้องกำหนดชื่ออะเรย์
พร้อมsubscript ซึ่งเป็นตัวกำหนดขอบเขตของอะเรย์ มีได้มากกว่า 1 ตัวจำนวน subscript จะเป็น ตัวบอก
มิติของอะเรย์นั้น อะเรย์ที่มี subscript มากกว่า 1 ตัวขึ้นไป จะเรียกว่า อะเรย์หลายมิติ การกำหนด subscript แต่ละตัวจะประกอบไปด้วย ค่าสูงสุดและ ค่าต่ำสุดของ subscript ข้อกำหนดของการกำหนด
ค่าต่ำสุดและค่าสูงสุดของ subscript คือ
1. ค่าต่ำสุดต้องมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับค่าสูงสุดเสมอ
2. ค่าต่ำสุด เรียกว่า ขอบเขตล่าง (lower bound)
3. ค่าสูงสุด เรียกว่า ขอบเขตบน (upper bound)ค่า subscript ที่ใช้อ้างอิงถึงสมาชิก จะต้องมีค่ามากกว่า หรือเท่ากับขอบเขตล่าง และน้อยกว่า หรือเท่ากับขอบเขตบนจำนวนสมาชิกหรือขนาดของอะเรย์ n มิติ
หาได้จาก ขนาดของอะเรย์ = ผลคูณของขนาดของsubscript แต่ละตัวการส่งอะเรย์ให้ฟังก์ชันสามารถ
กำหนดอะเรย์เป็นพารามิเตอร์ส่งให้กับฟังก์ชันได้ 2 ลักษณะ
1. การกำหนด array element เป็นพารามิเตอร์ส่งค่าให้กับฟังก์ชัน ทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์พร้อมระบุ subscript
2. ส่งอะเรย์ทั้งชุดให้ฟังก์ชันทำได้โดยอ้างถึงชื่ออะเรย์โดยไม่มี subscript การประกาศอาร์กิวเมนต์ในฟังก์ชันเป็นอะเรย์ถ้าเป็นอะเรย์มิติเดียว สามารถทำได้ทั้งหมด 3 วิธี
1. มีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า
2. ไม่ต้องมีการประกาศขนาดของอะเรย์ที่ทำหน้าที่ในการรับค่า
3. ตัวแปรที่ทำหน้าที่รับค่าถูกกำหนดเป็นพอยน์เตอร์การประกาศอาร์กิวเมนต์ในฟังก์ชันเป็นอะเรย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น